วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

แผนภูมิรูปวงกลม

แผนภูมิรูปวงกลม

 แผนภูมิรูปวงกลม (Pie chart) เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยวิธีแบ่งพื้นที่ในรูปวงกลมออกเป็นส่วนย่อยๆตามส่วนของปริมาณของข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบ   การแบ่งเนื้อที่นี้จะแบ่งมุมที่จุดศูนย์กลางของรูปวงกลมตามอัตราส่วนของข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางมีขนาดเท่ากับ 360 องศา
แผนภูมิรูปวงกลม นิยมใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆกับจำนวนทั้งหมด พร้อมกับเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆด้วยกันเอง เหมาะแก่การนำเสนอข้อมูลจำนวนร้อยละ ( เปอร์เซ็นต์ ) มากกว่าแผนภูมิแบบอื่นๆ เช่น
วนประกอบของแผนภูมิรูปวงกลม
    แผนภูมิรูปวงกลมควรมีส่วนประกอบต่าง ๆดังนี ้

1.ชื่อเรื่อง มีไวเพื่อบอกวาแผนภูมินั้นแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องอะไรที่ไหนและเมื่อไรชื่อเรื่องควรเปนขอความสั้น ๆไมยืดยาวจนเกินไป อยู่เหนือหรือใตแผนภูมิก็ได 2. รูปวงกลม  ซึ่งแบงพื้นที่ออกเปนสวนๆ แสดงรายละเอียดที่สอดคลองกับชื่อเรื่อง 3.ที่มาหรือแหลงขอมูล เพื่อใหทราบวาขอมูลนั้นไดมาจากแหลงใดมีความเชื่อถือไดมากอยแคไหนและเพื่อความสะดวกในการศึกษาคนควาสําหรับผู้ที่สนใจตอไ



การนำเสนอข้อมูลด้วย แผนภูมิรูปวงกลม ซึ่งเป็นแผนภูมิที่แสดงด้วยวงกลม โดยการแทนปริมาณข้อมูลทั้งหมดด้วยพื้นที่ในวงกลมหนึ่งวง และแบ่งพื้นที่ในวงกลมจากจุดศูนย์กลางออกเป็นส่วนของวงกลมย่อยๆ ตามส่วนของปริมาณที่นำเสนอ แล้วเขียนตัวเลขแสดงข้อมูลกำกับไว้


ปริมาตร


1.   ปริมาตร
 ปริมาตร หมายถึงความมากน้อยในปริภูมิสามมิติซึ่งวัสดุชนิดหนึ่งในสถานะใด ๆ (ของแข็ง ของเหลว แก๊ส หรือพลาสมา) หรือรูปทรงชนิดหนึ่งยึดถืออยู่หรือบรรจุอยู่ [1] บ่อยครั้งที่ปริมาตรระบุปริมาณเป็นตัวเลขโดยใช้หน่วยกำกับ เช่นลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ปริมาตรของภาชนะคือ ความจุ ของภาชนะ เช่นปริมาณของของไหล (ของเหลวหรือแก๊ส) ที่ภาชนะนั้นสามารถบรรจุได้ มากกว่าจะหมายถึงปริมาณเนื้อวัสดุของภาชนะ
รูปทรงสามมิติทางคณิตศาสตร์มักถูกกำหนดปริมาตรขึ้นด้วยพร้อมกัน ปริมาตรของรูปทรงอย่างง่ายบางชนิด เช่นมีด้านยาวเท่ากัน สันขอบตรง และรูปร่างกลมเป็นต้น สามารถคำนวณได้ง่ายโดยใช้สูตรต่าง ๆ ทางเรขาคณิต ส่วนปริมาตรของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นสามารถคำนวณได้ด้วยแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ถ้าทราบสูตรสำหรับขอบเขตของรูปทรงนั้น รูปร่างหนึ่งมิติ (เช่นเส้นตรง) และรูปร่างสองมิติ (เช่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส) ถูกกำหนดให้มีปริมาตรเป็นศูนย์ในปริภูมิสามมิติ

ปริมาตรของของแข็ง (ไม่ว่าจะมีรูปทรงปกติหรือไม่ปกติ) สามารถตรวจวัดได้ด้วยการแทนที่ของไหล และการแทนที่ของเหลวสามารถใช้ตรวจวัดปริมาตรของแก๊สได้อีกด้วย ปริมาตรรวมของวัสดุสองชนิดโดยปกติจะมากกว่าปริมาตรของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นแต่เมื่อวัสดุหนึ่งละลายในอีกวัสดุหนึ่งแล้ว ปริมาตรรวมจะไม่เป็นไปตามหลักการบวก [2]
ในเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ ปริมาตรถูกอธิบายด้วยความหมายของรูปแบบปริมาตร (volume form) และเป็นตัวยืนยงแบบไรมันน์ (Riemann invariant) ที่สำคัญโดยรวม ในอุณหพลศาสตร์ ปริมาตรคือตัวแปรเสริม (parameter) ชนิดพื้นฐาน และเป็นตัวแปรควบคู่ (conjugate variable) กับความดัน
        หน่วยวัด
          หน่วยวัดปริมาตรใช้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยวัดความยาว โดยเติมคำว่า ลูกบาศก์ นำหน้าหน่วยความยาวที่ใช้วัดขนาดในสามมิติทั้งความกว้าง ความยาว ความสูง ในหน่วยเดียวกัน เมื่อเขียนเป็นอักษรย่อจะเติม ลบ. นำหน้าหรือกำกับด้วย ยกกำลังสาม อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น วัตถุทรงลูกบาศก์ชิ้นหนึ่งมีทุกด้านยาวหนึ่งเซนติเมตร (ซม., cm) จะมีปริมาตรเท่ากับหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตร (ลบ.ซม., ซม.3, cm3)

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดให้หน่วยวัดปริมาตรมาตรฐานคือหน่วยลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม., ม.3, m3) ระบบเมตริกก็มีหน่วยลิตร (ล., L) เป็นหน่วยวัดปริมาตรอีกด้วย ซึ่งเท่ากับปริมาตรของทรงลูกบาศก์ขนาดสิบเซนติเมตร จึงสัมพันธ์กับหน่วยลูกบาศก์เมตรเช่นกัน นั่นคือ
1 ลิตร = (10 เซนติเมตร)3 = 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 0.001 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น
1 ลูกบาศก์เมตร = 1000 ลิตร
บ่อยครั้งที่ปริมาณของเหลวจำนวนเล็กน้อยถูกวัดในหน่วยมิลลิลิตร นั่นคือ
1 มิลลิลิตร = 0.001 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
หน่วยวัดปริมาตรแบบดั้งเดิมอื่น ๆ ที่มีหลากหลายก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เช่น ลูกบาศก์นิ้ว ลูกบาศก์ฟุต ลูกบาศก์ไมล์ ช้อนชา ช้อนโต๊ะ ถ้วย ออนซ์ แดรม กิลล์ ไพนต์ ควอร์ต แกลลอน มินิม บาร์เรล คอร์ด เพก บุเชิล ฮอกสเฮด ฯลฯ ส่วนหน่วยวัดไทยดั้งเดิมก็มีอย่างเช่น ถัง (20 ลิตร) บั้น เกวียน เป็นต้น


อ้างอิง  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3  วันที่ 5 กันยายน 2556

มุมชนิดต่างๆ


มุมชนิดต่างๆ
   
                      มุม มีหลายชนิด ชนิดของมุมแบ่งตามขนาดของมุมุม มีหลายชนิด ชนิดของมุมแบ่งตามขนาดของมุม ได้ดังนี้ได้ดังนี้
 1 . มุมฉาก เป็นมุมที่มีขนาด 90 องศาพอดี  
2. มุมแหลมเป็นมุมที่มีขนาดเล็กกว่า มุมฉาก คือ มีขนาดมากกว่า 0 องศา แต่น้อยกว่า 90 องศา
3. ม3. มุมป้านเป็นมุมที่มีขนาดใหญ่กว่า มุมฉาก แต่ไม่ถึงสองมุมฉาก

 4. มุมตรงเป็นมุมที่มีขนาดสองมุมฉาก หรือมีขนาด 180 องศาพอดี



5. มุมกลับเป็นมุมที่มีขนาดใหญ่กว่าสองมุมฉาก แต่ไม่ถึงสี่มุมฉาก


อ้างอิง  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/sutasri_s/mum/index.html  5 กันยายน 2556

เลขยกกำลัง




          ความหมายของเลขยกกําลัง 
โดยปกติแล้วในชีวิตประจําวันของเรา ใช้ตัวเลขเขียนเป็นสัญลักษณ์แทนจํานวนในการเขียน จํานวนที่มีค่ามากถ้า
                a เป็นจำนวนใด ๆ และ n เป็นจำนวนเต็ม บวก “ a กำลัง n”หรือ “ a กำลัง n” เขียนแทนด้วย  มีความหมายดังนี้
            = a × a × a ×… a (a คูณกัน n ตัว)n ตัว

เรียก  ว่าเลขยกกำลัง (power)โดยมี a คือ ฐาน (base) และ n คือ เลขยกกำลัง (exponent)
   
 เช่น     
ประชากรไทยโดยประมาณมีจํานวนหกสิบห้าล้านคน ซึ่งเขียนเป็นสัญลักษณ์คือ
65,000,000คน
       ซึ่งเป็นตัวเลขที่เขียนได้ลําบากและไม่ง่ายในการนําไปใช้คิดคํานวณการใช้สัญลักษณ์ที่ใช้แทนการเขียนจํานวนที่แสดงค่ามาก ๆเพื่อสะดวกในการเขียนในทางคณิตศาสตร์ จึงมีสัญลักษณ์ที่เขียนแทนจํานวนสิ่งของต่าง ๆที่มีค่ามาก ๆได้ในรูปของเลขยกกําลัง(Power) เช่น
               10,000,000,000 =10*10*10*10*10*10*10*10*10*10
เรียก ว่าเลขยกกำลังที่มี 2 เป็นฐาน และมี 11 เป็นเลขชี้กำลัง
                                         =  10,000,000,000
 เรียก ว่าเลขยกกําลัง อ่านว่าสิบยกกําลังสิบ
                                2048 = 2*2*2*2*2*2*2*2*2*2*2
                                         = 2048 
เรียก ว่าเลขยกกําลัง อ่านว่าสองยกกําลังสิบเอ็ด


     อ้างอิง   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87  วันที่ 5 กันยายน 2556

การบวก การลบทศนิยม


การบวก ลบ ทศนิยม
          การบวกทศนิยม         
                  การบวกทศนิยม  มี  4  กรณีได้แก่
                                  1. การบวกทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นบวก
                                  2. การบวกทศนิยมที่เป็นลบด้วยทศนิยมที่เป็นลบ
                                 3. การบวกทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นลบ
                                 4. การบวกทศนิยมสามจำนวนบวกกัน
                 การบวกทศนิยม การบวกทศนิยมใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วบวกตัวเลขที่อยู่ในหลักเดียวกันถ้าผลบวกได้เกิน 9 ให้ทศไปยังหลักข้างหน้าเหมือนการบวกจำนวนนับ
        หลักการบวกทศนิยม
              1. การบวกทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นบวกผลลัพธ์  เป็นบวก
              2. การบวกทศนิยมที่เป็นลบด้วยทศนิยมที่เป็นลบผลลัพธ์  เป็นลบ
              3. การบวกทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมให้ใช้หลักเกณฑ์การบวกลบทศนิยมโดย เอาค่าสัมบูรณ์มาลบกัน   แล้วตอบเป็นจำนวนบวกหรือลบตามจำนวนค่าสัมบูรณ์ ที่มากกว่า
  ที่เป็นลบ เช่น   -21.14 + 17.258 = -3.882
                
    การลบทศนิยม
            การลบทศนิยม  มี  3  กรณีได้แก่
                        1  การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับจำนวนบวก
                        2
  การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับจำนวนลบ  
                        3
  การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนลบกับจำนวนลบ
            การลบทศนิยม การลบทศนิยมใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วลบจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบให้กระจายหลักข้างหน้ามาเหมือนกับจำนวนนับ เช่น


      หลักการลบทศนิยม
             1  การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับจำนวนบวกหลักเกณฑ์การลบเลขจำนวนเต็มตามปกติ  ผลลัพธ์  เป็นบวก เช่น 1.89-0.71 = 1.18
             2
  การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับจำนวนลบ หลักการคือการลบกับการลบให้เปลี่ยนเป็นกาบวก ผลลัพธ์  เป็นบวก เช่น (-2.88) – (-1.44) = 1.44 
             3
  การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนลบกับจำนวนลบหลักเกณฑ์การเอาค่าสัมบูรณ์  มาบวกกัน  แล้วตอบเป็นจำนวนลบ  เช่น    -12.26 -28.459 =  -40.719
 
ตัวอย่างการบวกลบทศนิยม

อ้างอิง   http://203.172.205.25/ftp/intranet/mc41/education/m2/m2_05/content05.3.htm  วันที่ 5 กันยายน 2556